เข้าเกียร์ D แต่รถไม่ไป

เข้าเกียร์ D แต่รถไม่ไป

ประสบการณ์ตรงของผมเองเลย คือรถออกอาการงอแง เช้าๆจะรีบไปทำงาน พอสตาร์ทเครื่องเข้าเกียร์ D แล้ว แต่…ไม่ยอมวิ่ง ไม่ออกตัว พอเร่งเครื่องก็มาแต่รอบเหยียบจนรอบพุ่งแทบจะทะลุไมล์ รถมันก็ไม่ได้แคร์ ไม่ไปซะอย่างจะทำไม (ใครคิดว่าสร้างเรื่องมาขายของ ก็ข้ามไปเลยนะ)

แต่เกียร์ ถอยหลัง มันใช้ได้ปกติ ครั้นจะขับถอยหลังไปทำงานเหมือนใน the fast ก็เกรงว่าจะได้นอนยาวซะก่อน อืม สรุป รอรถมัน สะลึมสะลือสัก 5 – 10 นาที ถึงจะยอมเคลื่อนตัวไปได้ราวกับไม่มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นเลย

ทีนี้ ไปไหนไปกัน เครื่องร้อนแล้วเว้ย ตื่นแล้วเว้ย อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันไม่ใช่อาการที่พึงประสงค์เท่าไหร่นัก มันเป็นการเตือนว่าเตรียมตัวเสียเงินได้แล้ว และ เตือนว่าอย่าไปต่างจังหวัดนะ เกิดจะงอแงมากกว่านี้ อาจจะต้องขึ้นยานแม่กลับบ้าน พวกเล่นขู่กันแบบมีแต่เรื่องเสียตังค์ล้วนๆ ไม่มีวัวปนแบบนี้ ก็ต้องเน้นจอด หยอดกระปุกรอหละ

แต่ถึงกระนั้นแล้ว ก่อนจะต้องเสียตังโอเวอร์ฮอนเกียร์สามสี่หมื่น ก็ขอลองอะไรหน่อย

มันอาจจะช่วยได้ หรือ ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ขอให้ได้ลอง ก่อนจะลองก็ดูรายละเอียดรถผมก่อนละกัน

รายละเอียดรถยนต์
ยี่ห้อ Lexus
รุ่น RX300
ขับเคลื่อน AWD
เลขไมล์ 240,000
เกียร์ อัตโนมัติ 5 จังหวะ

โดยสาเหตุ ที่ได้ไปสืบค้น และ หารือ มั่วบ้างจริงบ้าง มึนบ้าง ก็พอสรุปได้ประมาณนี้ คือ น่าจะเกิดจากโอริงโซลินอย หรือ โอริงต่างๆในระบบเกียร์ เสื่อมสภาพ แข็ง ไม่ให้ตัว เพราะโอริงพื้นฐานมันก็คือ ยาง นั่นเอง  พอมันแข็งไม่ให้ตัว มันก็จะปิดได้ไม่สนิท ไม่สามารถกักแรงดันน้ำมันเกียร์ไว้ในห้องเกียร์ได้ ก็เมื่อไม่มีแรงดัน เกียร์ก็ไม่วิ่งหละครับ

แต่พอน้ำมันเกียร์ร้อน ยางโอริงที่แข็งๆอยู่มันก็เริ่มจะนิ่มขึ้นมาบ้าง ก็ให้ตัวได้ ก็จะปิดร่องได้สนิท ทำให้สามารถกักน้ำมันเกียร์สร้างแรงดันได้ รถก็เลยสามารถเคลื่อนตัวไปได้เหมือนปกติ นั่นแหละ

ฟังมาถึงตรงนี้ อาการมันช่างตรงกะรถตรูซะเหลือเกิน หลักการและเหตุผลก็ดูเข้าที ดังนั้นจึงกาหัวเจ้าโซลินอยนี้ไว้ก่อนเลย ว่าเอ็งแน่ๆ เบาใจว่าแค่เปลี่ยนโซลินอยก็น่าจะหาย แต่มันคือตัวไหนละ เช็คโค้ดไม่เจอนะ แล้วมีกี่ตัวละ 4-5 ตัว เออ ไม่เยอะ งั้นเปลี่ยนมันหมดเลยละกัน

แต่….พอเช็คราคาเท่านั้นแหละ ตัวละ 4 – 5,000 บาท (พระเจ้าช่วย โซลินอย ทอด ล่อไป สองหมื่นกว่า ครั้นจะเปลียนมือสองก็กลัวไม่จบ) เอวัง ณ เวลานั้น ก็ขอพักเรื่องการทำเกียร์ไปก่อนเลยจ้า….

สรุปอาการ
อาการ เข้าเกียร์ D แต่รถไม่เคลื่อนที่ ตอนเครื่องเย็น
เกียร์ R P N ทำงานปกติ
สาเหตุ ยางโอริงของโซลินอยด์ วาล์วบอดี้ เสื่อมสภาพ แข็ง ทำให้กักแรงดันไม่ได้
ทำไมเครื่องร้อน แล้วเกียร์จึงกลับมาทำงานได้
สาเหตุ เมื่อเครื่องร้อน น้ำมันเกียร์ก็ร้อน ทำให้ยางโอริงจากที่มันแข็งก็อ่อนตัวลง พอจะกักแรงดันได้ เกียร์ก็จะสามารถทำงานได้

รูปด้านล่างนี้คือ หน้าตาเจ้า โซลินอยด์ และตำแหน่งโอริงที่อยู่อาศัยกับโซลินอย แต่ชิ้นส่วนภายในนั้นก็อาจจะมีอีกบริเวณส่วนหัว แต่ผมก็ผ่ามาดูไม่ได้อ่ะนะ ดูไปแค่นี้ก็พอแล้วหละ เออ และอีกอย่างนึงที่จะบอกคือ

การทำงานของเกียร์อัตโนมัติ ต้องอาศัยแรงดันของน้ำมันเกียร์เหมือนกับระบบไฮโดรลิค ที่ต้องมีการปิดเปิดวาล์วให้น้ำมันไปยังห้องเกียร์ต่างๆ แล้วสร้างแรงดัน ถ้าหากกักแรงดันไม่อยู่รั่ว เกียร์ก็ไม่ทำงาน ดังนั้น เจ้าโอริง นี้ก็มีความสำคัญไม่น้อยเลยนะ

โซลินอยด์ มันอยู่ที่ไหน?

มันอยู่ที่ สมองเกียร์ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนไม่ยาก แต่….

แพง…

เห็นไหม ที่ลูกศรชี้เท่าที่จะเห็นได้จากภายนอก นั่นแหละ โอริง เป็นยาง แล้วมันก็มีอายุการใช้งานของมัน

นี่เป็นตัวอย่างโซลินอยด์เกียร์ แบบต่างๆ เท่าที่พอจะหารูปมาให้ดูได้

จากวันนั้น พอเจอราคาโซลินอยไป ก็ชะงักไปพักนึง แต่แล้ว ก็ไปเจอกับน้ำยาฟื้นฟูสภาพซีลโอริงในระบบเกียร์ นำเข้าจากอเมริกาด้วย และต้องใช้ตอนเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ ถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด

คือปกติแล้วผมไม่เคยสนใจของพวกนี้เลย แต่คราวนี้ถือโอกาสเลยแล้วใน เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเลย ก็ลองมันซะ ไงๆเกียร์ก็จะพังละ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เสียอะไร แต่ถ้าบังเอิญได้ขึ้นมาก็ดีไป

ในใจแอบคิดว่า ไม่น่าจะได้ ด้วยซ้ำ

เอาละ ดูชื่อเต็มๆ ละกัน มันคือ สารซ่อมแซมและบำรุงระบบเกียร์ออโต้

มีคุณสมบัติ(นานับประการจริงๆ) หยุดการรั่วซึม ฟื้นฟู ปรับสภาพซีลยาง (อันนี้ตรงประเด็นรถผมมาก), ล้างทำความสะอาดระบบเฟืองเกียร์ในระบบ แถมยังช่วยกอบกู้ประสิทธิภาพของระบบเกียร์กลับคืน (มันได้ขนาดนี้เลยเหรอวะ)

ส่วนอาการที่เขาระบุเอาไว้ว่าสามารถช่วย แก้ปัญหา ป้องกัน บรรเทา อาการ น้ำมันเกียร์รั่วซึม (น่าจะแค่รอยตามดนะ), เกียร์วืด (แต่ของเราไม่วืดนะ), เกียร์ไม่เปลี่ยน, เกียร์กระตุก, D ไม่ไป (อันนี้เราเลย), R ไม่ถอย (แต่เราถอยได้อยู่) ฯลฯ

ที่มีสาเหตุมาจากความสกปรก หรือ ซีลยางเสื่อมสภาพ คือจริงๆเราก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรมันเสีย แต่ก็ลองๆไป พร้อมเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ไม่กี่พันเอง ถ้ารอด ไม่ต้องโอเวอร์ฮอนเกียร์ เสียเงินหมื่น คือดีมาก จะว่าไปคือการยืดระยะเวลาการซ่อมออกไปได้อีก น่าจะเป็นปี เกียร์ยังไงมันก็ต้องมีการสึกหรอต้องซ่อมต้องเปลี่ยน แต่ตอนนี้ทำใจไม่ได้

ทีนี้เรามาพูดถึง ในส่วนของ

ค่าใช้จ่ายในการโอเวอร์ฮอนเกียร์

จะได้ทำใจกันถูก

แบบจัดเต็ม
ส่วนใหญ่จะ 3 – 50,000 หมื่นบาทสำหรับรถญี่ปุ่น ทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็ก ทำ
แบบจัดเต็มเปลี่ยนใหม่หมด แพงหน่อยแต่อายุการใช้งานก็จะได้อีกนานมาก เพราะเปลี่ยนหมดเหมือนใหม่ป้ายแดงเลย อะนิดนึง แต่มีเหมือนกันนะ โอเวอร์ฮอลแล้วไม่จบ คือ อู่ไม่เปลี่ยนทั้งหมด หรือ ประกอบไม่ดี อันนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละอู่ ซึ่งก็แปรผันตามราคาจ้า

แบบประหยัด
เริ่มหลักพันแต่ไม่ควรเกิน 2 หมื่น (เพราะถ้าเกินกว่านี้ก็ไปโอเวอร์ฮอลแบบจัดเต็มจะดีกว่า) ก็เปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสีย
ก็ควานหา และ คิดว่าตัวไหนเสีย ก็จับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของอู่นั้นๆ ก็มีลุ้นอยู่ว่าเปลี่ยนถูกจุดหรือเปล่า คืออย่างแรก ต่อมาคือ ตัวที่เปลี่ยนใหม่ก็หายแล้ว ไปวิ่งดีได้อีกพักมีอาการอีก คือ ตัวอื่นก็ทะยอยเสีย ก็จะวนไป จะกลายเป็นจุกจิกและรื้อหลายรอบ จึงไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่ถ้าเกียร์ผ่านการใช้งานมานานแล้ว

แบบวัดดวง (ผมเรียกแบบนี้นะ)
ก็หาเกียร์มือสองจากเชียงกง ราคาถ้าเทียบกับโอเวอร์ฮอล 40,000 บาท ถ้าหามือสองราคาจะประมาณ 20,000 บาท ไรงี้ ครึ่งๆ บางรุ่นอาจจะถูกกว่าเกินครึ่งอีก อือ ว่ากันต่อ มันเป็นเกียร์ที่มาจากญี่ปุ่น ที่คาดว่าน่าจะวิ่งน้อยกว่า และ สภาพเกียร์น่าจะดีกว่าเมืองไทย เพราะประเทศเขาอากาศเย็นกว่า และกฏหมายควบคุมเรื่องสภาพรถยนต์เขาเข้มงวด ดังนั้นเมื่อถึงเวลาคนส่วนนึงเขาจะทิ้งรถแล้วก็ซื้อใหม่ ไม่ใช้ต่อกันหลายสิบปีเหมือนเมืองไทย ดังนั้นสภาพก็จะดี คิดว่านะ


ที่เรียกว่าวัดดวงเพราะ เราไม่เห็นข้างในเลยครับ และ ลองไม่ได้ เห็นแต่สภาพภายนอกซึ่งถ้าล้างมาก็ดูใหม่เหมือนกันหมด นั่นแหละครับ ถ้าโชคดีก็ใช้ได้อีกพักใหญ่ แต่ถ้าโชคร้ายน้อยหน่อย ก็เสียภายใน 15 วัน ทางร้านเชียงกง อาจจะเปลี่ยนให้ ผมใช้คำว่าอาจจะ นะครับ แต่ถ้าโชคร้ายฉิบหาย ก็ใส่ไปวิ่ง 2 – 3 วันพัง เชียงกงไม่เคลมให้ อู่ที่เปลี่ยนไม่ใยดี นั่นแหละครับ ฉิบหาย ต้องกลับไปโอเวอร์ฮอลด้วย เสีย 2 เด้ง (แต่อู่ดี ตาดี ก็มีนะ หลายคนก็ใช้เกียร์มือสองได้ยาวๆเหมือนกัน)

ทีนี้ กลับมาสู่วิธีการฟื้นฟูซีลยางโอริงเกียร์ด้วยน้ำยาอันนั้นกันดีกว่า เรายังมีความหวังอย่างแรงกล้า ที่จะรักษาเงินหมื่นไว้กับเราให้นานที่สุด ยังไม่อยากเลือก ทางเลือกทั้ง 3 แบบ ด้านบนอ่ะ ทำใจไม่ได้

ต่อๆ น้ำยานี้ ใช้ได้กับเกียร์ AT เท่านั้น ส่วนเกียร์ MT, CVT, DCT หมดสิทธิ์

เริ่มเลยก็ผสมน้ำยากับน้ำมันเกียร์ใหม่ แล้วก็เติมเข้าไปในระบบ และเติมแล้วต้องไม่เกินระดับน้ำมันเกียร์ปกติ อีกอย่างนึงเพื่อให้น้ำยากระจายตัวทั่วระบบเกียร์ คู่มือบอกว่าต้องขับขี่ประมาณ 80 กิโลเมตร หลังจากนั้นแล้วน้ำยาถึงจะเริ่มออกฤทธิ์ แต่พอดีที่ผมมีแท่นซัพพอร์ตก็วิ่งบนแท่นไปเรื่อยๆแทนการวิ่งถนนจริงไปได้ส่วนนึง

เขาหมายเหตุไว้ว่า ไม่สามารถใช้กับเกียร์ที่เสียหายหนักมากแล้วหรือเสียหายจากทางกายภาพอื่นๆ เช่น การสึกหรอ แตกหัก ชำรุดของชิ้นส่วนอื่นๆ, การไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์, ระบบไฟฟ้า ฯลฯ ก็ว่ากันไปครับ ยังไงผมก็ไม่มีทางเลือกอยู่แล้ว เดินหน้ากรอกน้ำยาต่อไป

ระหว่างนี้ก็ฟอกเกียร์ไปด้วย ทำเสร็จก็ค่อยใส่น้ำยาปรับสภาพซีลยาง (ยังกะน้ำยาปรับผ้านุ่ม) ในขั้นตอนฟรัชชิ่งน้ำมันเกียร์ใหม่ จะได้หายคลางแคลงใจ ก็สะอาดใหม่หมด ไม่มีข้ออ้างใดๆอีก เพราะทำตามคู่มือเขาแล้ว ถ้าไม่จบ ก็ตายตาหลับละ นอนอู่สัก 2-3 วัน

น้ำมันเกียร์เก่า เทียบกับ น้ำมันเกียร์ใหม่ ก่อนทำการฟรัชชิ่ง

รูปด้านบน ก็คือสีของน้ำมันเกียร์เก่าจากในระบบ เทียบกับน้ำมันเกียร์ใหม่ๆ คือนี่ขนาดเปลี่ยนตามระยะ 40,000 ก.ม. นะ แต่สีก็จะดำแล้ว เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่ พร้อมกับสารซ่อมแซมเกียร์ออโต้ไป จะได้รู้กัน ว่าเราทำหมดทุกทางแล้วนะ ทางที่เสียตังและเวลาน้อยๆอ่ะ หลังจากนี้ถ้าไม่ได้ ก็ต้องทำใจกันแล้ว เพราะหมดหนทาง

ส่วนตัวน้ำยาปรับสภาพเกียร์นั้นสีมันจะเหมือนน้ำลิ้นจี่สีชมพูจางๆใสๆ ที่ใส่ขวดขายในร้านสะดวกซื้อ (เผื่อว่าสีของหน้าจอแต่ละท่านจะแสดงสีไม่เหมือนกัน) ส่วนกลิ่นไม่เหมือนน้ำลิ้นจี่นะ มันเหมือนน้ำมันสน ซะมากกว่า แต่ใครจะลองเอาน้ำมันสนมาลงก็ตามสบายนะฮะ เอาหละ หลังจากที่ทำการฟอกเกียร์ไปแล้วนั้น เราก็ฟรัชชิ่งน้ำมันเกียร์ใหม่พร้อมกับน้ำยาปรับสภาพเกียร์ 450 ml ต่อน้ำมันเกียร์ 4.5 ลิตร เข้าไปในระบบเกียร์

หลังจากนั้นก็นำรถไปวิ่งตามที่คู่มือบอก (ระยะทาง 80 กิโลเมตร) เพื่อให้น้ำยากระจายตัวทั่วเกียร์ แล้วมันจะค่อยๆปรับสภาพพวกโอริง ซีลยาง โซลินอยด์ นะ มันไม่ใช่ว่าใส่ปุ๊บหายปั๊บนะ มันค่อยๆอะ เหมือนคนกินยา อาการมันจะค่อยๆดีขึ้น แต่หากพ้นระยะไปแล้ว ไม่ดีขึ้นก็ต้องทำใจว่าหมดหนทางแล้ว ถือว่าเจอกันช้าไปภายในอาจจะเกินเยียวยา ในเมื่อกรอกยกแล้วไม่หาย ก็ต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดใหญ่กันไป(โอเวอร์ฮอนเกียร์) ต้องจ่ายเงินก้อนโตแทน ก็เลือกวิธีการตามด้านบนเลยครับ

ผลของยาตัวนี้ ดีแค่ไหนก็ดูในคลิปเอา ลองรถตัวเอง ไม่มั่วแน่นอน

สรุป

ด้วยรถผมเองแล้ว ว่า แก้อาการเข้าเกียร์ D ไม่ไป ได้จริงๆ แต่อาการกระตุกแค่ลดลงไม่ได้หายไป เกียร์ใครเริ่มมีอาการแบบนี้แล้ว อยากให้มาลองดูก่อน แค่สองพันนิดๆ รวมน้ำมันเกียร์แล้ว ดีกว่าไปเสียเงินหมื่น ซึ่งถ้ามันหายเนี่ยมันคุ้มมากๆ ดีกว่าไม่ได้ลองแล้วมาเสียดายทีหลังนะ

ผมรอดแล้ว จากเสียเงิน 40,000 เหลือแค่ 2,000 กว่าบาท โคตรแฮปปี้

จะทำ ก็ทักมา คุ้มเชื่อดิ

โทร : 080-584-6151

Line : @RTG-Auto

Line QR Code สแกนเสร็จทักมา

แผนที่สำหรับมาที่ร้าน